วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

โคบุตร

โคบุตร

โคบุตร
กวี :สุนทรภู่
ประเภท :นิทานคำกลอน
คำประพันธ์ :กลอนสุภาพ
ความยาว :
สมัย :ต้นรัตนโกสินทร์
ปีที่แต่ง :ราวรัชกาลที่ 2
ชื่ออื่น :
ลิขสิทธิ์ :กรมศิลปากร
โคบุตร เป็นกลอนนิทานเรื่องแรกของสุนทรภู่ แต่งขึ้นเพื่อถวายเจ้านายในพระราชวังหลังพระองค์หนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับ โคบุตรซึ่งเป็นลูกของพระอาทิตย์และนางอัปสร โดยฝากเลี้ยงไว้กับพญาราชสีห์ และนางไกรสร เมื่อเจริญชันษาโคบุตรซึ่งได้รับของวิเศษจากพระอาทิตย์ คือ แหวน และสังวาล และได้รับมอบใบยาวิเศษที่สามารถชุบชีวิตคนตายให้มีชีวิตได้จากราชสีห์ ต่อจากนั้นจึงเป็นเรื่องาวการผจญภัยของโคบุตร ดังที่จะคัดมาตอนหนึ่งในตอนท้ายที่โคบุตรมีพระมเหสีสองคน คือ นางอำพันมาลา และนางมณีสาคร นางอำพันมาลาเห็นโคบุตรรักนางมณีสาครมากกว่าตน จึงทำเสน่ห์ให้โคบุตรหลงรัก แต่อรุณกุมารได้แก้ไขเสน่ห์ โคบุตรโกรธมากถึงกับสั่งประหาร แต่อรุณกุมารขอร้อง โคบุตรจึงขับไล่นางอำพันมาลาออกจากวัง ดังต่อไปนี้
     โฉมอำพันมาลาน้ำตาไหลเห็นชาวในพระสนมมาคับคั่ง
ค่อยหยุดยืนฝืนองค์ทรงประทังเหลียวมาสั่งสาวสวรรค์กำนัลใน
จงปกป้องครองกันเป็นผาสุกอย่ามีทุกข์เศร้าสร้อยละห้อยไห้
เรามีกรรมจำลาเจ้าคลาไคลหักพระทัยออกจากทวารา

นิราศเมืองเพชร

นิราศเมืองเพชร

นิราศเมืองเพชร
กวี :สุนทรภู่
ประเภท :กลอนนิราศ
คำประพันธ์ :กลอนสุภาพ
ความยาว :
สมัย :รัชกาลที่ 4
ปีที่แต่ง :พ.ศ. 2388
ชื่ออื่น :
ลิขสิทธิ์ :กรมศิลปากร
นิราศเมืองเพชร เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอนประพันธ์โดยสุนทรภู่ ไม่ปรากฏว่าแต่งเรื่องนี้ขึ้นเมื่อใด แต่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า น่าจะแต่งเมื่อครั้งกลับเข้ารับราชการอยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์[1] และน่าจะเดินทางไปในราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง ประมาณปี พ.ศ. 2388 ดังปรากฏตอนหนึ่งในนิราศว่า
ที่ธุระจะใคร่ได้ใจนิยม
เขารับสมปรารถนาสามิภักดิ์
นิราศเรื่องนี้มีการค้นพบฉบับลายมือเขียนเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2529 โดย อ.ล้อม เพ็งแก้ว ซึ่งจากเนื้อหาส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นมาทำให้ทราบว่า บรรพชนฝ่ายมารดาของสุนทรภู่น่าจะเป็นชาวเมืองเพชรบุรีนี้เอง[2]

รำพันพิลาป

รำพันพิลาป

รำพันพิลาป
กวี :สุนทรภู่
ประเภท :กลอนนิราศ
คำประพันธ์ :กลอนสุภาพ
ความยาว :
สมัย :รัชกาลที่ 3
ปีที่แต่ง :พ.ศ. 2385
ชื่ออื่น :
ลิขสิทธิ์ :กรมศิลปากร
รำพันพิลาป เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอนประพันธ์โดยสุนทรภู่ เป็นนิราศเชิงกำสรวลที่พรรณนาถึงชีวิตของตัวเอง สุนทรภู่ระบุไว้ในงานประพันธ์ว่าได้เขียนงานชิ้นนี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2385 ขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม เนื่องจากเกิดนิมิตเป็นฝันร้ายว่าจะต้องสิ้นชีวิต สุนทรภู่ตกใจตื่นจึงแต่งนิราศบรรยายความฝัน และเล่าเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตของตนไว้ หลังจากนั้นก็ลาสิกขาบท
เนื้อหาในนิราศทำให้ผู้อ่านได้ทราบเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตของสุนทรภู่ซึ่งไม่เคยปรากฏที่ไหนมาก่อน ทำให้ทราบด้วยว่าสุนทรภู่เคยธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่างๆ มากมาย เช่น พิษณุโลก และได้แต่งนิราศเอาไว้ด้วย แต่งานเขียนของท่านถูกปลวกขึ้นกุฏิ จึงสูญสลายไปหมด สุนทรภู่รำพันความเสียดายหนังสือของตนไว้ในเนื้อเรื่องด้วยว่า "เสียดายสุดแสนรักเรื่องอักษร"

นิราศอิเหนา

นิราศอิเหนา

นิราศอิเหนา
กวี :สุนทรภู่
ประเภท :กลอนนิราศ
คำประพันธ์ :กลอนสุภาพ
ความยาว :
สมัย :รัชกาลที่ 3
ปีที่แต่ง :
ชื่ออื่น :
ลิขสิทธิ์ :กรมศิลปากร
นิราศอิเหนา เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอนประพันธ์โดยสุนทรภู่ สันนิษฐานจากสำนวนกลอนคาดว่าน่าจะประพันธ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อครั้งที่สุนทรภู่อยู่ในอุปการะของพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ จึงน่าจะแต่งถวาย[1] เนื้อหาของกลอนนิราศนำมาจากส่วนหนึ่งของวรรณคดีเรื่อง อิเหนา โดยจับใจความตอนที่อิเหนากลับจากไปแก้สงสัยที่เมืองดาหา แล้วพบว่านางบุษบาที่ตนลักตัวมาซ่อนไว้ที่ถ้ำทอง ถูกลมพายุพัดหายไปเสียแล้ว เนื้อหาของกลอนนิราศเป็นการเดินทางติดตามค้นหานางบุษบาของอิเหนา ระหว่างทางก็พร่ำรำพันถึงนางผู้เป็นที่รัก อิเหนาตามหานางบุษบาอยู่เจ็ดเดือนก็หาไม่พบ เนื้อเรื่องจบลงที่อิเหนาและไพร่พลออกบวชอุทิศกุศลให้นางบุษบา ซึ่งอิเหนาคิดว่าคงจะตายไปแล้ว

นิราศวัดเจ้าฟ้า

นิราศวัดเจ้าฟ้า

นิราศวัดเจ้าฟ้า
กวี :สุนทรภู่
ประเภท :กลอนนิราศ
คำประพันธ์ :กลอนสุภาพ
ความยาว :
สมัย :ต้นรัตนโกสินทร์
ปีที่แต่ง :ราวรัชกาลที่ 3
ชื่ออื่น :
ลิขสิทธิ์ :กรมศิลปากร
นิราศวัดเจ้าฟ้า เป็นนิราศคำกลอนที่มีรู้จักกันดีเรื่องหนึ่ง เนื้อเรื่องกล่าวว่า เณรหนูพัด (บุตรคนโตของสุนทรภู่) เป็นผู้แต่ง แต่เชื่อกันว่าที่จริงแต่งโดยสุนทรภู่นั่นเอง เนื่องจากขณะนั้นสุนทรภู่อยู่ในสมณเพศ จึงต้องระมัดระวังตัวมาก การแต่งในนามของเณรหนูพัดทำให้สามารถออกกระบวนกลอนและแสดงความคิดเห็นได้รสชาติมากกว่า
วัดเจ้าฟ้า ในบทกลอนมีชื่อเต็มว่า วัดเจ้าฟ้าอากาศนาถนรินทร์ ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นวัดใดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน เส้นการเดินทางตามบทนิราศเมื่อไปถึงอยุธยา สุนทรภู่และคณะแวะนมัสการหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง แล้วเลยไปวัดใหญ่ชัยมงคลเพื่อค้นหาพระปรอท ก่อนจะออกเดินเท้าไปยังวัดเจ้าฟ้าอากาศนาถนรินทร์

นิราศวัดเจ้าฟ้า

นิราศวัดเจ้าฟ้า

นิราศวัดเจ้าฟ้า
กวี :สุนทรภู่
ประเภท :กลอนนิราศ
คำประพันธ์ :กลอนสุภาพ
ความยาว :
สมัย :ต้นรัตนโกสินทร์
ปีที่แต่ง :ราวรัชกาลที่ 3
ชื่ออื่น :
ลิขสิทธิ์ :กรมศิลปากร
นิราศวัดเจ้าฟ้า เป็นนิราศคำกลอนที่มีรู้จักกันดีเรื่องหนึ่ง เนื้อเรื่องกล่าวว่า เณรหนูพัด (บุตรคนโตของสุนทรภู่) เป็นผู้แต่ง แต่เชื่อกันว่าที่จริงแต่งโดยสุนทรภู่นั่นเอง เนื่องจากขณะนั้นสุนทรภู่อยู่ในสมณเพศ จึงต้องระมัดระวังตัวมาก การแต่งในนามของเณรหนูพัดทำให้สามารถออกกระบวนกลอนและแสดงความคิดเห็นได้รสชาติมากกว่า
วัดเจ้าฟ้า ในบทกลอนมีชื่อเต็มว่า วัดเจ้าฟ้าอากาศนาถนรินทร์ ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นวัดใดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน เส้นการเดินทางตามบทนิราศเมื่อไปถึงอยุธยา สุนทรภู่และคณะแวะนมัสการหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง แล้วเลยไปวัดใหญ่ชัยมงคลเพื่อค้นหาพระปรอท ก่อนจะออกเดินเท้าไปยังวัดเจ้าฟ้าอากาศนาถนรินทร์

นิราศสุพรรณ

นิราศสุพรรณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิราศสุพรรณ
กวี :สุนทรภู่
ประเภท :โคลงนิราศ
คำประพันธ์ :โคลงสี่สุภาพ
ความยาว :462 บท
สมัย :รัชกาลที่ 3
ปีที่แต่ง :พ.ศ. 2374
ชื่ออื่น :นิราศเมืองสุพรรณ,
นิราศสุพรรณคำโคลง
ลิขสิทธิ์ :กรมศิลปากร
นิราศสุพรรณ เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบโคลงประพันธ์โดยสุนทรภู่ เป็นนิราศเรื่องแรกและเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่ประพันธ์ด้วยฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพ เข้าใจว่าต้องการลบคำสบประมาทว่าตนแต่งได้แต่เพียงกลอน เชื่อว่าสุนทรภู่แต่งนิราศสุพรรณในปี พ.ศ. 2374 ระหว่างที่จำพรรษาอยู่ที่วัดสระเกศ แล้วออกเดินทางไปยังเมืองสุพรรณเพื่อค้นหายาอายุวัฒนะ การเดินทางของสุนทรภู่ครั้งนี้หนักหนาแทบเอาชีวิตไม่รอด สุดท้ายก็ไม่ได้อะไรกลับมา สุนทรภู่เขียนบทสรุปของการเดินทางครั้ง