วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

โคบุตร

โคบุตร

โคบุตร
กวี :สุนทรภู่
ประเภท :นิทานคำกลอน
คำประพันธ์ :กลอนสุภาพ
ความยาว :
สมัย :ต้นรัตนโกสินทร์
ปีที่แต่ง :ราวรัชกาลที่ 2
ชื่ออื่น :
ลิขสิทธิ์ :กรมศิลปากร
โคบุตร เป็นกลอนนิทานเรื่องแรกของสุนทรภู่ แต่งขึ้นเพื่อถวายเจ้านายในพระราชวังหลังพระองค์หนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับ โคบุตรซึ่งเป็นลูกของพระอาทิตย์และนางอัปสร โดยฝากเลี้ยงไว้กับพญาราชสีห์ และนางไกรสร เมื่อเจริญชันษาโคบุตรซึ่งได้รับของวิเศษจากพระอาทิตย์ คือ แหวน และสังวาล และได้รับมอบใบยาวิเศษที่สามารถชุบชีวิตคนตายให้มีชีวิตได้จากราชสีห์ ต่อจากนั้นจึงเป็นเรื่องาวการผจญภัยของโคบุตร ดังที่จะคัดมาตอนหนึ่งในตอนท้ายที่โคบุตรมีพระมเหสีสองคน คือ นางอำพันมาลา และนางมณีสาคร นางอำพันมาลาเห็นโคบุตรรักนางมณีสาครมากกว่าตน จึงทำเสน่ห์ให้โคบุตรหลงรัก แต่อรุณกุมารได้แก้ไขเสน่ห์ โคบุตรโกรธมากถึงกับสั่งประหาร แต่อรุณกุมารขอร้อง โคบุตรจึงขับไล่นางอำพันมาลาออกจากวัง ดังต่อไปนี้
     โฉมอำพันมาลาน้ำตาไหลเห็นชาวในพระสนมมาคับคั่ง
ค่อยหยุดยืนฝืนองค์ทรงประทังเหลียวมาสั่งสาวสวรรค์กำนัลใน
จงปกป้องครองกันเป็นผาสุกอย่ามีทุกข์เศร้าสร้อยละห้อยไห้
เรามีกรรมจำลาเจ้าคลาไคลหักพระทัยออกจากทวารา

นิราศเมืองเพชร

นิราศเมืองเพชร

นิราศเมืองเพชร
กวี :สุนทรภู่
ประเภท :กลอนนิราศ
คำประพันธ์ :กลอนสุภาพ
ความยาว :
สมัย :รัชกาลที่ 4
ปีที่แต่ง :พ.ศ. 2388
ชื่ออื่น :
ลิขสิทธิ์ :กรมศิลปากร
นิราศเมืองเพชร เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอนประพันธ์โดยสุนทรภู่ ไม่ปรากฏว่าแต่งเรื่องนี้ขึ้นเมื่อใด แต่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า น่าจะแต่งเมื่อครั้งกลับเข้ารับราชการอยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์[1] และน่าจะเดินทางไปในราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง ประมาณปี พ.ศ. 2388 ดังปรากฏตอนหนึ่งในนิราศว่า
ที่ธุระจะใคร่ได้ใจนิยม
เขารับสมปรารถนาสามิภักดิ์
นิราศเรื่องนี้มีการค้นพบฉบับลายมือเขียนเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2529 โดย อ.ล้อม เพ็งแก้ว ซึ่งจากเนื้อหาส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นมาทำให้ทราบว่า บรรพชนฝ่ายมารดาของสุนทรภู่น่าจะเป็นชาวเมืองเพชรบุรีนี้เอง[2]

รำพันพิลาป

รำพันพิลาป

รำพันพิลาป
กวี :สุนทรภู่
ประเภท :กลอนนิราศ
คำประพันธ์ :กลอนสุภาพ
ความยาว :
สมัย :รัชกาลที่ 3
ปีที่แต่ง :พ.ศ. 2385
ชื่ออื่น :
ลิขสิทธิ์ :กรมศิลปากร
รำพันพิลาป เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอนประพันธ์โดยสุนทรภู่ เป็นนิราศเชิงกำสรวลที่พรรณนาถึงชีวิตของตัวเอง สุนทรภู่ระบุไว้ในงานประพันธ์ว่าได้เขียนงานชิ้นนี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2385 ขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม เนื่องจากเกิดนิมิตเป็นฝันร้ายว่าจะต้องสิ้นชีวิต สุนทรภู่ตกใจตื่นจึงแต่งนิราศบรรยายความฝัน และเล่าเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตของตนไว้ หลังจากนั้นก็ลาสิกขาบท
เนื้อหาในนิราศทำให้ผู้อ่านได้ทราบเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตของสุนทรภู่ซึ่งไม่เคยปรากฏที่ไหนมาก่อน ทำให้ทราบด้วยว่าสุนทรภู่เคยธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่างๆ มากมาย เช่น พิษณุโลก และได้แต่งนิราศเอาไว้ด้วย แต่งานเขียนของท่านถูกปลวกขึ้นกุฏิ จึงสูญสลายไปหมด สุนทรภู่รำพันความเสียดายหนังสือของตนไว้ในเนื้อเรื่องด้วยว่า "เสียดายสุดแสนรักเรื่องอักษร"

นิราศอิเหนา

นิราศอิเหนา

นิราศอิเหนา
กวี :สุนทรภู่
ประเภท :กลอนนิราศ
คำประพันธ์ :กลอนสุภาพ
ความยาว :
สมัย :รัชกาลที่ 3
ปีที่แต่ง :
ชื่ออื่น :
ลิขสิทธิ์ :กรมศิลปากร
นิราศอิเหนา เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอนประพันธ์โดยสุนทรภู่ สันนิษฐานจากสำนวนกลอนคาดว่าน่าจะประพันธ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อครั้งที่สุนทรภู่อยู่ในอุปการะของพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ จึงน่าจะแต่งถวาย[1] เนื้อหาของกลอนนิราศนำมาจากส่วนหนึ่งของวรรณคดีเรื่อง อิเหนา โดยจับใจความตอนที่อิเหนากลับจากไปแก้สงสัยที่เมืองดาหา แล้วพบว่านางบุษบาที่ตนลักตัวมาซ่อนไว้ที่ถ้ำทอง ถูกลมพายุพัดหายไปเสียแล้ว เนื้อหาของกลอนนิราศเป็นการเดินทางติดตามค้นหานางบุษบาของอิเหนา ระหว่างทางก็พร่ำรำพันถึงนางผู้เป็นที่รัก อิเหนาตามหานางบุษบาอยู่เจ็ดเดือนก็หาไม่พบ เนื้อเรื่องจบลงที่อิเหนาและไพร่พลออกบวชอุทิศกุศลให้นางบุษบา ซึ่งอิเหนาคิดว่าคงจะตายไปแล้ว

นิราศวัดเจ้าฟ้า

นิราศวัดเจ้าฟ้า

นิราศวัดเจ้าฟ้า
กวี :สุนทรภู่
ประเภท :กลอนนิราศ
คำประพันธ์ :กลอนสุภาพ
ความยาว :
สมัย :ต้นรัตนโกสินทร์
ปีที่แต่ง :ราวรัชกาลที่ 3
ชื่ออื่น :
ลิขสิทธิ์ :กรมศิลปากร
นิราศวัดเจ้าฟ้า เป็นนิราศคำกลอนที่มีรู้จักกันดีเรื่องหนึ่ง เนื้อเรื่องกล่าวว่า เณรหนูพัด (บุตรคนโตของสุนทรภู่) เป็นผู้แต่ง แต่เชื่อกันว่าที่จริงแต่งโดยสุนทรภู่นั่นเอง เนื่องจากขณะนั้นสุนทรภู่อยู่ในสมณเพศ จึงต้องระมัดระวังตัวมาก การแต่งในนามของเณรหนูพัดทำให้สามารถออกกระบวนกลอนและแสดงความคิดเห็นได้รสชาติมากกว่า
วัดเจ้าฟ้า ในบทกลอนมีชื่อเต็มว่า วัดเจ้าฟ้าอากาศนาถนรินทร์ ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นวัดใดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน เส้นการเดินทางตามบทนิราศเมื่อไปถึงอยุธยา สุนทรภู่และคณะแวะนมัสการหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง แล้วเลยไปวัดใหญ่ชัยมงคลเพื่อค้นหาพระปรอท ก่อนจะออกเดินเท้าไปยังวัดเจ้าฟ้าอากาศนาถนรินทร์

นิราศวัดเจ้าฟ้า

นิราศวัดเจ้าฟ้า

นิราศวัดเจ้าฟ้า
กวี :สุนทรภู่
ประเภท :กลอนนิราศ
คำประพันธ์ :กลอนสุภาพ
ความยาว :
สมัย :ต้นรัตนโกสินทร์
ปีที่แต่ง :ราวรัชกาลที่ 3
ชื่ออื่น :
ลิขสิทธิ์ :กรมศิลปากร
นิราศวัดเจ้าฟ้า เป็นนิราศคำกลอนที่มีรู้จักกันดีเรื่องหนึ่ง เนื้อเรื่องกล่าวว่า เณรหนูพัด (บุตรคนโตของสุนทรภู่) เป็นผู้แต่ง แต่เชื่อกันว่าที่จริงแต่งโดยสุนทรภู่นั่นเอง เนื่องจากขณะนั้นสุนทรภู่อยู่ในสมณเพศ จึงต้องระมัดระวังตัวมาก การแต่งในนามของเณรหนูพัดทำให้สามารถออกกระบวนกลอนและแสดงความคิดเห็นได้รสชาติมากกว่า
วัดเจ้าฟ้า ในบทกลอนมีชื่อเต็มว่า วัดเจ้าฟ้าอากาศนาถนรินทร์ ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นวัดใดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน เส้นการเดินทางตามบทนิราศเมื่อไปถึงอยุธยา สุนทรภู่และคณะแวะนมัสการหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง แล้วเลยไปวัดใหญ่ชัยมงคลเพื่อค้นหาพระปรอท ก่อนจะออกเดินเท้าไปยังวัดเจ้าฟ้าอากาศนาถนรินทร์

นิราศสุพรรณ

นิราศสุพรรณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิราศสุพรรณ
กวี :สุนทรภู่
ประเภท :โคลงนิราศ
คำประพันธ์ :โคลงสี่สุภาพ
ความยาว :462 บท
สมัย :รัชกาลที่ 3
ปีที่แต่ง :พ.ศ. 2374
ชื่ออื่น :นิราศเมืองสุพรรณ,
นิราศสุพรรณคำโคลง
ลิขสิทธิ์ :กรมศิลปากร
นิราศสุพรรณ เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบโคลงประพันธ์โดยสุนทรภู่ เป็นนิราศเรื่องแรกและเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่ประพันธ์ด้วยฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพ เข้าใจว่าต้องการลบคำสบประมาทว่าตนแต่งได้แต่เพียงกลอน เชื่อว่าสุนทรภู่แต่งนิราศสุพรรณในปี พ.ศ. 2374 ระหว่างที่จำพรรษาอยู่ที่วัดสระเกศ แล้วออกเดินทางไปยังเมืองสุพรรณเพื่อค้นหายาอายุวัฒนะ การเดินทางของสุนทรภู่ครั้งนี้หนักหนาแทบเอาชีวิตไม่รอด สุดท้ายก็ไม่ได้อะไรกลับมา สุนทรภู่เขียนบทสรุปของการเดินทางครั้ง

นิราศภูเขาทอง

นิราศภูเขาทอง

นิราศภูเขาทองเป็นวรรณคดีประเภทนิราศ ได้รับการยกย่องว่าเป็นนิราศเรื่องที่ดีที่สุดของสุนทรภู่ (พ.ศ. 2329 - 2398) ท่านแต่งนิราศเรื่องนี้จากการเดินทางไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทอง ที่กรุงเก่า
(จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน) เมื่อเดือนสิบเอ็ด ปีชวด (พ.ศ. 2371) ขณะบวชเป็นพระภิกษุ
ลักษณะคำประพันธ์ นิราศภูเขาทองแต่งด้วยกลอนนิราศ มีความคล้ายคลึงกับกลอนสุภาพ แต่เริ่มด้วย วรรครับจบ ด้วยวรรคส่งลงท้ายด้วย คำว่า เอย มีความยาวเพียง 89 คำกลอนเท่านั้น แต่มีความไพเราะ และเรียบง่าย ตามแบบฉบับของสุนทรภู่ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย บรรยายความรู้สึกขณะเดียวกันก็เล่าถึงสภาพของเส้นทางที่กำลังเดินทางไปด้วย ท่านมักจะเปรียบเทียบชีวิตและโชคชะตาของตนกับธรรมชาติรอบข้างที่ตนได้เดินทางผ่านไป มีหลายบทที่เป็นที่รู้จักและท่องจำกันได้..การเดินทางในนิราศ
สุนทรภู่ล่องเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาไปกับลูกชายชื่อหนูพัด ผ่านวัดประโคนปัก บางยี่ขัน ถึงบางพลัด ผ่านตลาดแก้วตลาดขวัญในเขตจังหวัดนนทบุรี จากนั้นก็ผ่านเกาะเกร็ด ซึ่งเป็นย่านชาวมอญ เข้าสู่จังหวัดปทุมธานี หรือเมืองสามโคก แล้วเข้าเขตอยุธยา จอดเรือที่ท่าวัดพระเมรุ ค้างคืนในเรือ มีโจรแอบจะมาขโมยของในเรือ แต่ไหวตัวทัน รุ่งเช้าเป็นวันพระ ลงจากเรือเดินทางไปที่เจดีย์ภูเขาทอง ซึ่งเป็นเจดีย์ร้าง เก็บพระบรมธาตุมาไว้ในขวดแก้วตั้งใจจะนำไปนมัสการที่กรุงเทพฯ แต่เมื่อตื่นมาก็ไม่พบพระบรมธาตุ จึงได้เดินทางกลับ

บางตอนจากนิราศภูเขาทอง
๏ ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมงมีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเราให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย
ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จพระสรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย
ถึงสุราพารอดไม่วอดวายไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป
ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารักสุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไปแต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืนฯ
  
๏ ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตรจะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจาฯ
  
๏ จงทราบความตามจริงทุกสิ่งสิ้นอย่านึกนินทาแกล้งแหนงไฉน
นักเลงกลอนนอนเปล่าก็เศร้าใจจึงร่ำไรเรื่องร้างเล่นบ้างเอยฯ

 

 

 

๏ ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมงมีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเราให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย
ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จพระสรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย
ถึงสุราพารอดไม่วอดวายไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป
ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารักสุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไปแต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืนฯ
  
๏ ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตรจะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจาฯ
  
๏ จงทราบความตามจริงทุกสิ่งสิ้นอย่านึกนินทาแกล้งแหนงไฉน
นักเลงกลอนนอนเปล่าก็เศร้าใจจึงร่ำไรเรื่องร้างเล่นบ้างเอยฯ
 

 

 

 

 

 

 

 

นิราศเมืองแกลง

นิราศเมืองแกลง เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอนประพันธ์โดยสุนทรภู่ เป็นนิราศเรื่องแรกของเขาที่ได้แต่งขึ้นในปี พ.ศ. 2349 มีใจความกล่าวถึงการเดินทางโดยเรือเพื่อไปยังเมืองแกลง โดยมีศิษย์ 2 คนร่วมโดยสารไปด้วยกัน คือ น้อยกับพุ่ม และมีผู้นำทางชื่อนายแสง เป้าหมายการเดินทางของสุนทรภู่ไม่ปรากฏแน่ชัด บ้างว่าเขาต้องการไปบวชกับบิดา บ้างว่าเขาเดินทางไปขอเงินเพื่อกลับมาแต่งงาน นักวิชาการยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่าสุนทรภู่กลับไปทำไม แต่ทางจังหวัดระยองได้นำเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์ในช่วงนั้นไปสร้างเป็นอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่เมืองแกลง
เนื้อหาโดยย่อ และเส้นทางการเดินทาง
ปีพ.ศ. 2349 หลังจากกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคต สุนทรภู่ซึ่งถูกจองจำอยู่เหตุจากการลอบรักใคร่กับแม่จัน จึงได้รับการปล่อยตัวเป็นการถวายพระกุศล สุนทรภู่เขียนในส่วนขึ้นต้นของนิราศว่า
จะพลัดพรากจากกันไม่ทันลา
ใช้แต่ตาต่างถ้อยสุนทรวอน
เป็นอันว่าสุนทรภู่ถูกใช้ไปราชการด่วนจนถึงกับไม่มีเวลาไปบอกลาแม่จันได้เลย เหตุที่ว่าสุนทรภู่ต้องไปด้วยราชการก็เนื่องจากความท่อนหนึ่งว่า
จะกรวดน้ำคว่ำขันจนวันตาย
แม้เจ้านายท่านไม่ใช้แล้วไม่มา
ผู้ร่วมทางของสุนทรภู่ในการเดินทางคราวนี้ ได้แก่ นายแสง เป็นผู้นำทาง และน้อยกับพุ่ม ศิษย์น้องสองคน ทั้งหมดล่องเรือไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา ลัดเลาะคลองบางนาไปออกแม่น้ำบางปะกงแล้วลงสู่ทะเล เลียบริมทะเลไปขึ้นฝั่งที่บริเวณหาดบางแสน จากนั้นจึงเดินเท้าต่อ สุนทรภู่ได้แวะพักที่บ้านขุนรามอยู่เป็นหลายวัน ก่อนจะออกเดินทางต่อไปเมืองแกลง ซึ่งในเวลานั้นเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนอยู่ในป่าทึบ หนทางจะไปถึงนั้นแสนกันดารและเต็มไปด้วยอันตราย ทั้งคณะเดินทางกันต่อจนไปถึงเมืองระยอง ถึงตรงนี้ นายแสงมิได้ร่วมเดินทางต่อไปด้วย
สุนทรภู่กับน้องทั้งสองเดินทางต่อไปอีกจนถึงบ้านกร่ำ เมืองแกลง ได้พบบิดาของตนซึ่งบวชเป็นพระมาตลอดนับแต่สุนทรภู่เกิด สุนทรภู่ได้ถือศีลกินเจอยู่กับบิดาพักหนึ่ง แล้วเกิดล้มป่วยเป็นไข้ ต้องพักรักษาตัวอยู่นานหลายเดือนกว่าจะเดินทางกลับมาถึงพระนคร

ประวัติสุนทรภุ๋



Poo-2.jpg


พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2398) เป็นกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียง ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย[1] เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นกวีราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต
สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนบการประพันธ์กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยา และ พระอภัยมณี เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน และเป็นผลงานที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กาพย์พระไชยสุริยา นิราศพระบาท และอีกหลายๆเรื่อง
ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบ 200 ปีชาตกาล สุนทรภู่ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ไว้ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง บ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นที่กำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์แห่งอื่นๆ อีก เช่น ที่วัดศรีสุดาราม ที่จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดนครปฐม วันเกิดของสุนทรภู่คือวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็น วันสุนทรภู่ ซึ่งเป็นวันสำคัญด้านวรรณกรรมของไทย มีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆ โดยทั่วไป